ศูนย์การศึกษา

การวิเคราะห์ทางเทคนิค

หลังจากที่เข้าใจแล้ว แนวคิดของการเทรด FX นั้นง่าย โดยที่สกุลเงินหนึ่งเป็นสินค้าที่มีความผันผวนเมื่อเทียบกับเงินอีกสกุลหนึ่ง โดยการซื้อ (หรือขาย) สกุลเงิน เทรดเดอร์ FX มีเป้าหมายที่จะทำกำไรจากการเคลื่อนไหวของอัตราแลกเปลี่ยน FX จุดดีของ FX ก็คือต้นทุนในการเทรดที่ต่ำมาก นั่นหมายความว่า การเทรดสามารถถูกดำเนินการในระยะเวลาที่สั้นมาก ๆ เพียงไม่กี่วินาที หรือจะเทรดแบบระยะยาวก็ได้

สิ่งที่ควรดูในการวิเคราะห์ทางเทคนิค

ค้นหาแนวโน้ม

หนึ่งในสิ่งแรก ๆ ที่คุณจะได้ยินในการวิเคราะห์ปัจจัยพื้นฐานก็คือภาษิตต่อไปนี้: 'แนวโน้มคือเพื่อน' การหาแนวโน้มหลักจะช่วยให้คุณทราบทิศทางตลาดโดยรวมและทำให้คุณมองเห็นภาพได้ดีขึ้น โดยเฉพาะอย่างยิ่งเมื่อการเคลื่อนไหวระยะสั้นมีแนวโน้มที่จะบดบังภาพรวม กราฟรายสัปดาห์และรายเดือนมีความเหมาะสมกว่าสำหรับการหาแนวโน้มระยะยาว ทันทีที่คุณพบแนวโน้มในภาพรวม คุณจะสามารถเลือกแนวโน้มของระยะเวลาที่คุณต้องการเทรดได้ ผลก็คือ คุณสามารถซื้อในขณะที่ราคาย่อลงระหว่างแนวโน้มขาขึ้น และขายตอนที่ราคาขยับขึ้นระหว่างแนวโน้มขาลงได้อย่างมีประสิทธิภาพ

แนวรับและแนวต้าน

ระดับแนวรับและแนวต้านเป็นจุดซึ่งกราฟจะมีแรงซื้อหรือขายออกมามากกว่าปกติ โดยปกติระดับแนวรับเป็นจุดต่ำในแพทเทิร์นกราฟใด ๆ (รายชั่วโมง รายสัปดาห์ หรือรายปี) ในขณะที่ระดับแนวต้านเป็นจุดสูง หรือจุดสูงสุดของแพทเทิร์นกราฟ จุดเหล่านี้ถูกระบุว่าเป็นแนวรับและแนวต้านเมื่อกราฟแสดงให้เห็นแนวโน้มที่จะเกิดขึ้นอีกครั้ง ถ้าดูแล้วไม่น่ามีการทะลุแนวรับ/แนวต้าน การซื้อ/ขายใกล้ระดับนี้จะได้ราคาดีที่สุด

ทันทีที่กราฟทะลุแนวเหล่านี้ แนวเหล่านี้มักจะเปลี่ยนเป็นด้านตรงข้าม ดังนั้น ในตลาดขาขึ้น ระดับแนวต้านที่มีการทะลุก็จะกลายเป็นแนวรับสำหรับแนวโน้มที่กำลังขึ้น ส่วนในตลาดขาลง ทันทีที่กราฟทะลุแนวรับ จุดนี้ก็จะเปลี่ยนไปเป็นแนวต้าน

เส้นและช่วงราคา

เส้นแนวโน้มเป็นสิ่งที่ทำได้ง่าย แต่ก็เป็นเครื่องมือที่มีประโยชน์ในการยืนยันทิศทางของแนวโน้มตลาด ลากเส้นเอียงขึ้นโดยเชื่อมต่อจุดต่ำสุดที่ติดกันอย่างน้อยสองจุด โดยธรรมชาติ จุดที่สองต้องอยู่สูงกว่าจุดแรก ความต่อเนื่องของเส้นช่วยในการกำหนดเส้นทางที่ตลาดจะเคลื่อนที่ไป แนวโน้มขาขึ้นเป็นวิธีการที่เป็นรูปธรรมในการหาเส้น/ระดับแนวรับ ในทางตรงข้าม เส้นเอียงลงจะถูกลากโดยการเชื่อมต่อจุดสองจุดหรือมากกว่าเข้าด้วยกัน ความถูกต้องของเส้นแนวโน้มมีความสัมพันธ์กับจำนวนจุดที่ใช้เชื่อมต่อ อีกอย่างหนึ่งคือ จุดต่าง ๆ ต้องไม่อยู่ใกล้กันเกินไป ช่วงราคา (channel) ถูกกำหนดโดยเส้นราคาที่ลากโดยเส้นแนวโน้มที่ขนานกันสองเส้น เส้นต่าง ๆ ทำหน้าที่เป็นแนวกั้นราคาขาขึ้น หรือขาลง คุณสมบัติที่คุ้นเคยกันดีของช่วงราคาสำหรับการเชื่อมต่อจุดของเส้นแนวโน้ม คือราคาจะเคลื่อนไหวระหว่างจุดที่เชื่อมต่อกันสองจุดของเส้นตรงข้าม

ทฤษฎีพื้นฐาน

กราฟ

มีกราฟหลัก 3 ชนิดที่ใช้กันในการวิเคราะห์ทางเทคนิค:

กราฟเส้น (Line Chart):
กราฟเส้นเป็นการแสดงประวัติอัตราแลกเปลี่ยนของคู่สกุลเงินในเวลาที่ผ่านมาแบบกราฟิก เส้นถูกสร้างขึ้นโดยการเชื่อมต่อราคาปิดประจำวันเข้าด้วยกัน

กราฟแท่ง (Bar Chart):
กราฟแท่งเป็นการแสดงลักษณะการเคลื่อนไหวด้านราคาของคู่สกุลเงิน โดยสร้างขึ้นจากแท่งแนวตั้งในช่วงเวลาระหว่างวันที่กำหนด (เช่น ทุก 30 นาที) แต่ละแท่งมี 'จุดดู' 4 ตำแหน่ง โดยแทนอัตราแลกเปลี่ยนเมื่อเปิดตลาด ปิดตลาด ราคาสูงสุด และราคาต่ำสุด (OCHL) สำหรับช่วงเวลา

กราฟแท่งเทียน (Candlestick Chart):
กราฟแท่งเทียนเป็นกราฟชนิดหนึ่งที่แยกออกมาจากกราฟแท่ง ยกเว้นว่ากราฟแท่งเทียนแสดงราคา OCHL เป็น 'แท่งเทียน' ที่มี 'ไส้' ที่ปลายแต่ละด้าน เมื่อราคาเปิดอยู่สูงกว่าราคาปิด แท่งเทียนจะมีลักษณะ 'ตัน' เมื่อราคาปิดอยู่สูงกว่าราคาเปิด แท่งเทียนจะมีลักษณะ 'กลวง'

ระดับแนวรับและแนวต้าน (Support & Resistance Levels)

การใช้การวิเคราะห์ด้านเทคนิคอย่างหนึ่งคือการหาระดับ 'แนวรับ' และ 'แนวต้าน' แนวคิดพื้นฐานคือ ตลาดจะมีแนวโน้มที่จะเทรดกันที่ราคาสูงกว่าระดับแนวรับและต่ำกว่าระดับแนวต้าน ระดับแนวรับแสดงถึงระดับราคาที่แน่นอนซึ่งค่าเงินจะตัดผ่านลงไปต่ำกว่าราคานี้ได้ยาก ถ้าราคาไม่สามารถเคลื่อนที่ลงไปต่ำกว่าจุดที่แน่นอนนี้ได้หลาย ๆ ครั้ง รูปแบบเส้นตรงจะปรากฏขึ้น

ในทางตรงข้าม ระดับแนวต้านแสดงถึงระดับราคาที่แน่นอนซึ่งค่าเงินจะตัดผ่านขึ้นไปสูงกว่าราคานี้ได้ยาก การที่ราคาไม่สามารถเคลื่อนที่ขึ้นไปสูงกว่าจุดนี้ได้ซ้ำหลาย ๆ ครั้ง จะสร้างรูปแบบเส้นตรงขึ้น

ถ้าราคาเคลื่อนที่ทะลุแนวรับหรือแนวต้าน ก็คาดหมายว่าตลาดจะเคลื่อนที่ต่อเนื่องในทิศทางนั้น ระดับเหล่านี้หามาจากการวิเคราะห์กราฟและโดยการประเมินถึงจุดซึ่งตลาดชนแนวรับหรือแนวต้านซึ่งไม่สามารถผ่านได้ในอดีต

ค่าเฉลี่ยเคลื่อนที่ (Moving Averages)

ค่าเฉลี่ยเคลื่อนที่เป็นเครื่องมืออีกอย่างหนึ่งสำหรับการติดตามแนวโน้มราคา ค่าเฉลี่ยเคลื่อนที่ ในรูปแบบที่ง่ายที่สุด คือค่าเฉลี่ยของราคาในช่วงเวลาที่กำหนด เส้นค่าเฉลี่ยเคลื่อนที่ 10 วัน ถูกคำนวณโดยการบวกราคาปิดย้อนหลัง 10 วัน จากนั้นหารด้วย 10 ในวันต่อมา ราคาที่เก่าที่สุดจะถูกทิ้งไป และราคาปิดของวันใหม่จะถูกเพิ่มเข้ามาแทน จากนั้นก็จะหารผลรวมของ 10 วันนี้ด้วย 10 ด้วยการดำเนินการในลักษณะนี้ ค่าเฉลี่ยจะ 'เคลื่อนที่' ในแต่ละวัน

ค่าเฉลี่ยเคลื่อนที่เป็นวิธีการที่เป็นรูปธรรมมากขึ้นในการเข้าหรือออกจากตลาด เพื่อช่วยหาจุดเข้าและจุดออก บ่อยครั้งที่จะนักวิเคราะห์จะวางทับเส้นค่าเฉลี่ยเคลื่อนที่ลงบนกราฟแท่ง เมื่อตลาดปิดเหนือเส้นค่าเฉลี่ยเคลื่อนที่ โดยทั่วไปจะแปลความหมายว่าเป็นสัญญาณซื้อ ในทำนองเดียวกัน สัญญาณขายจะเกิดขึ้นเมื่อตลาดปิดต่ำกว่าเส้นค่าเฉลี่ยเคลื่อนที่ เทรดเดอร์บางคนชอบที่จะมองเส้นค่าเฉลี่ยเคลื่อนที่ให้เปลี่ยนทิศทางจริง ๆ ก่อนที่จะยอมรับว่านั่นเป็นสัญญาณซื้อหรือสัญญาณขาย

ความไวของเส้นค่าเฉลี่ยเคลื่อนที่และจำนวนของสัญญาณซื้อและขายที่กราฟสร้างขึ้น มีความสัมพันธ์โดยตรงกับช่วงเวลาที่เลือกสำหรับค่าเฉลี่ยเคลื่อนที่ เส้นค่าเฉลี่ยเคลื่อนที่ 5 วันจะมีความไวมากกว่าและจะให้สัญญาณซื้อและขายมากกว่าเส้นค่าเฉลี่ยเคลื่อนที่ 20 วัน ถ้าค่าเฉลี่ยไวเกินไป เทรดเดอร์จะพบว่าตัวเองกระโดดเข้าและออกจากตลาดบ่อยเกินไป ในทางตรงข้าม ถ้าค่าเฉลี่ยเคลื่อนที่ไม่ไวเพียงพอ เทรดเดอร์ก็เสี่ยงที่จะพลาดโอกาส เนื่องจากพบสัญญาณซื้อและขายสายเกินไป

ค่าเฉลี่ยเคลื่อนที่เป็นเครื่องมือที่มีประโยชน์มากสำหรับเทรดเดอร์ที่ใช้การวิเคราะห์ทางเทคนิค

เส้นแนวโน้ม (Trend Line)

เส้นแนวโน้มช่วยในการหาแนวโน้ม รวมทั้งบริเวณที่มีศักยภาพในการเป็นแนวรับและแนวต้าน เส้นแนวโน้มเป็นเส้นตรงที่เชื่อมต่อจุดยอดที่สำคัญอย่างน้อย 2 จุด หรือเป็นร่องในพฤติกรรมราคาของสกุลเงินอ้างอิง ต้องไม่มีพฤติกรรมราคาอื่นที่ทะลุเส้นแนวโน้มระหว่าง 2 จุด ในลักษณะนี้ เส้นแนวโน้มจะสร้างแนวรับหรือแนวต้านซึ่งราคาเปลี่ยนทิศทาง (จุดยอดและร่อง) และไม่มีการทะลุ ยิ่งเส้นแนวโน้มยาวขึ้น ก็จะยิ่งมีความถูกต้องมากขึ้น โดยเฉพาะอย่างยิ่ง ถ้าราคาแตะเส้นหลายครั้งโดยไม่ทะลุ

การทะลุเส้นแนวโน้มระยะยาวอาจเป็นตัวบ่งชี้ว่ากำลังจะเกิดการกลับตัวของแนวโน้ม อย่างไรก็ตาม ไม่มีอะไรรับประกันว่าสิ่งนี้จะเกิดขึ้น เช่นเดียวกับตัวชี้วัดทั้งหมดของการกลับตัวของแนวโน้มราคา ไม่มีวิธีที่บอกล่วงหน้าได้ว่าราคาในอนาคตจะไปทางไหน

จุดต่ำสุดสอง (สาม) จุด (Double (Triple) Bottoms) และจุดสูงสุดสอง (สาม) จุด (Double (Triple) Tops)

รูปแบบจุดต่ำสุดสองหรือสามจุด (double หรือ triple bottom) เป็นตัวบ่งชี้ที่ดีสำหรับคำสั่งขายล่วงหน้า (sell-stop order) ทางเทคนิค โดยปกติคำสั่งขายล่วงหน้า (sell-stop order) ดังกล่าวจะถูกส่งออกไปในราคาที่ต่ำกว่าราคาต่ำสุดก่อนหน้า ในทำนองเดียวกัน รูปแบบจุดสูงสุดสองหรือสามจุด (double หรือ triple top) เป็นตัวบ่งชี้ที่ดีสำหรับคำสั่งซื้อล่วงหน้า (buy-stop order) ในราคาที่สูงกว่าราคาสูงสุดก่อนหน้า

การปรับฐาน (Retracement)

เมื่อตลาดเคลื่อนที่ไปในทิศทางใดทิศทางหนึ่งอย่างรวดเร็ว บางครั้งอาจมีการเปลี่ยนทิศทาง เนื่องจากนักลงทุนในตลาดทำกำไรออกมา ปรากฏการณ์นี้เรียกว่าการปรับฐาน (Retracement) บ่อยครั้ง นี่เป็นโอกาสที่ดีที่จะกลับเข้าสู่ตลาดอีกครั้งในระดับราคาที่น่าสนใจมากขึ้น ก่อนที่ราคาจะวิ่งตามแนวโน้มใหญ่ต่อไป

การใช้สัดส่วนฟิโบนัชชี (Fibonacci) เป็นวิธีทั่วไปในการวัดการปรับฐาน

เกี่ยวกับเรา
แพลตฟอร์ม
ประเภทบัญชี
ข่าวตลาดและการวิเคราะห์
ศูนย์การศึกษา
พันธมิตรและผู้แนะนำ