ศูนย์การศึกษา

ใครคือผู้เล่นที่สำคัญ

ในช่วงไม่กี่ปีที่ผ่านมา ตลาดแลกเปลี่ยนเงินตราต่างประเทศมีการขยายตัวจากการที่ธนาคารดำเนินธุรกรรมระหว่างกันเอง ไปเป็นการทำธุรกรรมกับสถาบันการเงินอื่น ๆ อีกมากมายหลากหลายประเภท รวมถึงโบรกเกอร์และผู้ดูแลสภาพคล่อง บริษัทที่ไม่ใช่สถาบันการเงิน บริษัทจัดการกองทุน กองทุนบำเหน็จบำนาญ และกองทุนป้องกันความเสี่ยง

มีการขยายการให้บริการจากผู้ส่งออกและผู้นำเข้า มาเป็นการลงทุนจำนวนมากในต่างประเทศ และการไหลเข้าออกของเงินทุนอื่น ๆ ที่เกิดขึ้นในขณะนี้ เมื่อเร็ว ๆ นี้ การเทรดอัตราแลกเปลี่ยนเงินตราต่างประเทศในวันได้กลายเป็นที่นิยมมากขึ้น โดยมีบริษัทต่าง ๆ เสนอบริการเทรดอัตราแลกเปลี่ยนให้กับนักลงทุนรายย่อย

ตลาดซื้อขายแลกเปลี่ยนเงินตราต่างประเทศเป็นตลาด 'ซื้อขายกันเองโดยตรง' (OTC) ซึ่งเป็นการซื้อขายที่ผู้ซื้อและผู้ขายตกลงต่อรองราคากันเอง ไม่มีตลาดแลกเปลี่ยนกลางและสำนักหักบัญชีเพื่อจับคู่คำสั่งต่าง ๆ 'ศูนย์' ซื้อขายมีอยู่หลายภูมิภาคทั่วโลก ดังนี้ (ตามลำดับความสำคัญ): ลอนดอน นิวยอร์ก โตเกียว สิงคโปร์ แฟรงค์เฟิร์ต เจนีวาและซูริค ปารีส และฮ่องกง สิ่งสำคัญคือ การซื้อขายอัตราแลกเปลี่ยนเงินตราต่างประเทศเป็นการตกลงกันเองระหว่างผู้ซื้อและผู้ขาย โดยอยู่บนพื้นฐานของความไว้วางใจและชื่อเสียงในการส่งมอบตามข้อตกลง ในกรณีของการซื้อขายระหว่างธนาคาร ก็เป็นการดำเนินการตามพื้นฐานดังกล่าว ในตลาดรายย่อย ลูกค้าต้องการสัญญาเป็นลายลักษณ์อักษรตามกฎหมายที่เห็นชอบร่วมกันระหว่างตนเองและโบรกเกอร์ เพื่อการฝากเงินสำหรับใช้ในการเทรดในนามลูกค้า

ผู้เล่นในตลาดบางรายอาจมีส่วนร่วมในตลาด 'สินค้า' ที่มีการทำธุรกรรมระหว่างประเทศในการซื้อหรือขายสินค้า บางรายอาจมีส่วนร่วมในการ 'ลงทุนโดยตรง' ในโรงงานและอุปกรณ์ หรืออาจจะอยู่ใน 'ตลาดเงิน' เพื่อซื้อขายตราสารหนี้ระยะสั้นในต่างประเทศ นักลงทุน ผู้ประกันความเสี่ยง และนักเก็งกำไรอาจมุ่งเน้นไปที่ช่วงเวลาใด ๆ ตั้งแต่ไม่กี่นาทีจนกระทั่งถึงหลายปี แต่ไม่ว่าจะเป็นภาครัฐหรือเอกชนและไม่ว่าแรงจูงใจจะเป็นการลงทุนเพื่อป้องกันความเสี่ยง การเก็งกำไร การทำกำไรจากสองตลาด การชำระเงินค่าสินค้านำเข้า หรือการสร้างแรงกดดันในอัตราแลกเปลี่ยน ล้วนเป็นส่วนหนึ่งในอุปสงค์และอุปทานโดยรวมของสกุลเงินที่เกี่ยวข้อง - ทุกรายล้วนเป็นผู้เล่นที่มีบทบาทในการกำหนดอัตราแลกเปลี่ยนในขณะนั้น

ธนาคารโลกสำหรับการซื้อขายเงินตราต่างประเทศ

ธนาคารแห่งแคนาดา (แคนาดา)

ธนาคารกลางแคนาดาเป็นธนาคารกลางของประเทศแคนาดา ไม่ได้เป็นธนาคารพาณิชย์ที่ให้บริการด้านการเงินแก่ประชาชน แต่ก็มีหน้าที่ในการกำหนดนโยบายการเงินของประเทศแคนาดา การพิมพ์ธนบัตร ระบบการเงิน และการจัดการเงินทุน บทบาทหลักของธนาคารกลางแคนาดาตามกฎหมายคือ 'เพื่อส่งเสริมสภาพแวดล้อมที่ดีทางเศรษฐกิจและการเงินของประเทศแคนาดา'

ธนาคารกลางอังกฤษ (สหราชอาณาจักร)

บทบาทและหน้าที่ของธนาคารกลางอังกฤษได้มีการพัฒนาและเปลี่ยนแปลงตลอดระยะเวลา 300 ปี ตั้งแต่เริ่มแรก งานหลักคือการเป็นธนาคารของรัฐบาล และนับตั้งแต่ช่วงปลายศตวรรษที่ 18 หน้าที่หลักคือ การเป็นธนาคารของระบบการเงินการธนาคาร นั่นคือ การเป็นนายธนาคารของธนาคาร นอกเหนือไปจากให้บริการด้านการธนาคารกับลูกค้า ธนาคารกลางอังกฤษมีหน้าที่ดูแลและจัดการทุนสำรองที่เป็นเงินตราต่างประเทศและทองคำของสหราชอาณาจักร

ธนาคารกลางมีวัตถุประสงค์หลักสองข้อคือ เสถียรภาพของการเงินและสถาบันการเงิน ประชาชนทั่วไปรู้จักธนาคารกลางในเรื่องการออกธนบัตร และเมื่อเร็ว ๆ นี้คือ การตัดสินใจด้านอัตราดอกเบี้ย ธนาคารกลางมีอำนาจผูกขาดในเรื่องการออกใช้ธนบัตรในอังกฤษและเวลส์ตั้งแต่ต้นศตวรรษที่ 20 แต่ตั้งแต่ปี 1997 เป็นต้นมา ธนาคารกลางมีหน้าที่ความรับผิดชอบตามกฎหมายสำหรับการกำหนดอัตราดอกเบี้ยของสหราชอาณาจักรอย่างเป็นทางการ

ธนาคารกลางญี่ปุ่น (ญี่ปุ่น)

ธนาคารกลางญี่ปุ่นเป็นธนาคารกลางของประเทศญี่ปุ่น เป็นนิติบุคคลที่จัดตั้งขึ้นตามกฎหมายธนาคารกลางญี่ปุ่น (ต่อจากนี้ไปเรียกว่ากฎหมาย) และไม่ได้เป็นหน่วยงานของรัฐหรือบริษัทเอกชน กฎหมายกำหนดวัตถุประสงค์ของธนาคารกลาง 'เพื่อออกใช้ธนบัตรและควบคุมดูแลสกุลเงินและระบบการเงินของประเทศ' และ 'ดูแลเพื่อให้แน่ใจว่าระบบการชำระเงินระหว่างธนาคารและสถาบันการเงินอื่น ๆ เป็นไปอย่างราบรื่น เอื้อต่อระบบเศรษฐกิจและการเงินของประเทศ'

นอกจากนี้ กฎหมายยังกำหนดหลักการของธนาคารในการดูแลสกุลเงินและการควบคุมระบบการเงินดังต่อไปนี้: 'จุดมุ่งหมายคือการควบคุมดูแลสกุลเงินและระบบการเงิน โดยการดูแลเสถียรภาพของราคา เพื่อการพัฒนาเศรษฐกิจของประเทศอย่างเหมาะสม'

ธนาคารกลางเม็กซิโก (เม็กซิโก)

ธนาคารกลางเม็กซิโกเป็นธนาคารกลางของประเทศ โดยมีความเป็นอิสระในการทำงานและการบริหารงานตามรัฐธรรมนูญ โดยมีวัตถุประสงค์คือการดูแลเศรษฐกิจและสกุลเงินของประเทศเม็กซิโก วัตถุประสงค์หลัก คือ การรักษาเสถียรภาพด้านราคาและสกุลเงิน นอกจากนี้ ธนาคารกลางยังมีหน้าที่ส่งเสริมการพัฒนาระบบการเงินและบริหารจัดการระบบการชำระเงินของประเทศให้มีประสิทธิภาพ

ธนาคารกลางยุโรป (สหภาพยุโรป)

ECB เป็นธนาคารกลางสำหรับสกุลเงินร่วมของยุโรป นั่นคือ เงินยูโร งานหลักของ ECB คือการรักษาอำนาจซื้อของเงินยูโรและรักษาเสถียรภาพด้านราคาในกลุ่มประเทศยูโร กลุ่มประเทศยูโรประกอบด้วย 18 ประเทศในสหภาพยุโรป ยูโรเปิดตัวตั้งแต่ปี 1999

ธนาคารกลางสหรัฐ (สหรัฐอเมริกา)

คณะกรรมการนโยบายการเงินของธนาคารกลางสหรัฐฯ (FOMC) มีหน้าที่กำหนดนโยบายการเงินที่จะช่วยส่งเสริมเป้าหมายทางเศรษฐกิจของประเทศ ผู้ว่าการธนาคารกลางสหรัฐ มลรัฐนิวยอร์ก คือประธานธนาคารระดับภูมิภาคถาวร และตามธรรมเนียมจะถูกเลือกเป็นรองประธานผู้ว่าการ ส่วนผู้ว่าการธนาคารกลางมลรัฐอื่น ๆ หมุนเวียนกันวาระละ 1 ปี

ธนาคารกลางสวิส (สวิตเซอร์แลนด์)

ธนาคารกลางสวิสดำเนินนโยบายการเงินของประเทศในฐานะที่เป็นธนาคารกลางที่เป็นอิสระ มีหน้าที่ตามรัฐธรรมนูญและตามกฎหมายในการดำเนินการให้สอดคล้องเพื่อผลประโยชน์ของประเทศโดยรวม เป้าหมายหลักคือการดูแลเสถียรภาพด้านราคา ขณะเดียวกัน ก็ส่งเสริมการพัฒนาทางเศรษฐกิจของประเทศ ธนาคารดำเนินการเพื่อสร้างสภาพแวดล้อมที่เหมาะสมสำหรับการเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจ

เกี่ยวกับเรา
แพลตฟอร์ม
ประเภทบัญชี
ข่าวตลาดและการวิเคราะห์
ศูนย์การศึกษา
พันธมิตรและผู้แนะนำ